27.2.10

[Article] วัฒนธรรมอาหารเกาหลีแบบโบราณ




วัฒนธรรมอาหารเกาหลี

แรกเริ่มเดิมทีเกาหลีเป็นประเทศเกษตรกรรม และชาวเกาหลีเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่โบราณกาล มาในสมัยนี้อาหารเกาหลีจะเป็นตำหรับซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์นานาชนิด ปลา พร้อมด้วยพืชสีเขียวและผักต่างๆ อาหารหมักดองต่างๆ เช่น กิมจิ จอทกอล (jeotgal) (อาหารทะเลหมักเกลือ) และ ดนจัง (deonjang) (ถั่วเหลืองหมักเหลว) ขึ้นชื่อในรสชาติโดยเฉพาะและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จุดเด่นในการตั้งโต๊ะอาหารเกาหลีคืออาหารจานต่างๆ ถูกนำมาจัดวางในคราวเดียวกัน โดยการปฏิบัติสืบทอดกันมา มีการเสิร์ฟอาหารประเภทออร์เดิฟเริ่มจากอาหร 3 ชนิด สำหรับสามัญชนถึง 12 ชนิดสำหรับชนชั้นวงศานุวงศ์ การจัดโต๊ะอาหารต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการเสิร์ฟอาหารจานก๋วยเตี๋ยวหรือเนื้อหรือไม่ มีการแสดงการจัดโต๊ะอาหารตามกฏระเบียบให้ผู้สนใจเรื่องอาหารและการรับประทานอาหารได้เห็น หากจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและญี่ปุ่นแล้วเกาหลีนิยมใช้ช้อนมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสิร์ฟน้ำซุป

อาหารเกาหลี เป็นอาหารที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้ตอบรับกับภูมิอากาศในภูมิภาคที่ฤดูหนาวกินเวลายาวนาน อาหารเกาหลีจึงเป็นอาหารที่มีเทคนิคการถนอมอาหารพิเศษที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรักษาวิตามินในสูตรอาหารประเภทผัก “กิมจิ” เป็นตัวอย่างอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารหมักดอง ความจริงที่ว่ากิมจิจะมีรสชาติเค็มขึ้น ถ้าใครนำมันจากทางเหนือที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ที่อบอุ่นกว่า



เกาหลีเป็นประเทศเกษตรกรรม และชาวเกาหลีเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่โบราณกาล มาในสมัยนี้ อาหารเกาหลีจะเป็นตำหรับ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อสัตว์นานาชนิด ปลา พร้อมด้วยพืชสีเขียวและผักต่าง ๆ อาหารหมักดองต่าง ๆ เช่นกิมจิ จอทกอล Jeotgal คืออาหารทะเลหมักเกลือ และดนจัง (Deonjang) หรือถั่วเหลืองหมักเหลว ซึ่งขึ้นชื่อในรสชาติโดยเฉพาะ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

พูดถึงอาหารเกาหลี คนทั่วไปจะนึกถึงรสชาติเผ็ดร้อนของพริก และกลิ่นกระเทียม แต่ที่จริงอาหารเกาหลี มีหลากหลายรสชาติ แต่ละมื้อจะมีอาหารตั้งแต่ 3 ชนิด ไปจนถึง 12 ชนิด สำหรับราชวงศ์ หรือเศรษฐี ประกอบด้วย ข้าวหรือโจ๊กหุงพร้อมกับถั่วต่าง ๆ ฟักทอง โสม เห็ด ธัญพืชอื่น ๆ อาจเติมเนื้อสัตว์อย่าง ไก่ หรือหอย จานถัดมา จะเป็นซุป สตูว์ ผัก และเนื้อสัตว์ ซึ่งปรุงด้วยวิธีการต่าง ๆ



อาหารเกาหลีจะมีลักษณะเป็น หยิน-หยาง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ หลักคิดแบบ หยิน หยาง ตามการแพทย์แผนจีนนั้น ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จะประกอบไปด้วยสองด้าน ซึ่งด้านทั้งสองจะอยู่ตรงข้ามกัน แต่ต่างฝ่ายต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย เช่น ชาวเกาหลีนิยมรับประทาน ซัมเกทัง หรือซุปไก่โสม เพื่อเรียกกำลังในช่วงฤดูร้อน หรือหากอากาศหนาวเย็น ร่างกายต้องการอาหารเพื่อทำให้อบอุ่น ต้องกิน “ชินซอลโล” หรือหม้อร้อนที่ประกอบด้วยเนื้อปลา ผัก หรือเต้าหู้ ซึ่งนิยมทานช่วงหน้าหนาว เป็นต้น

ชาวเกาหลีเชื่อว่า อาหาร คือยาในชีวิตประจำวัน หากกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับสภาพร่างกายแล้ว เราอาจเจ็บป่วยได้ และหากเรามีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสมเช่นนั้นเป็นเวลานาน โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นย่อมยากที่จะรักษาให้หายได้ ดังนั้น ชาวเกาหลีจึงมักใช้อาหารเป็นยา เช่น โสม ตังกุย และพืชผักสมุนไพรอื่น ๆ ความจริงสมัยก่อน การปรุงอาหารของเกาหลีไม่นิยมใช้เครื่องปรุงรสมากนัก และพริกก็เพิ่งแพร่หลายเมื่อศตวรรษที่ 16 ผ่านโปรตุเกส สเปน เข้ามาทางญี่ปุ่น



อาหารในวังหลวง

คนโบราณของเกาหลีคิดว่า อาหารนอกจากทำให้อิ่มท้องแล้ว ยังมีผลต้านการบำรุง อาหารกับการแพทย์มาจากแหล่งเดียว พืชผักทุกชนิดล้วนมีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคภัยและบำรุงร่างกาย ในวังหลวงจึงมีแพทย์ทางโภชนาการคอยดูแลเรื่องอาหารการกิน โดยดูจากพระพลานามัยของพระราชา หยินและหยาง 5 ธาตุ ปรับเป็นสูตรอาหาร 5 รส บางครั้งก็ให้งดของแสลง เพื่อป้องกันโรคภัย ทำให้นางกำนัลต้องพลอยมีความรู้ด้านนี้ไปด้วย นอกจากเน้นความอร่อยแล้ว สุขภาพของพระราชาก็เป็นสิ่งสำคัญ อาหารในวังหลวง นอกจากมีนางกำนัลคอยดูแลแล้ว บางส่วนก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็คือพ่อครัวมืออาชีพที่ชำนาญเรื่องอาหาร



ตามประวัติศาสตร์จารึก ในราชวงศ์ “โซซอน” ว่ากันว่า การเสวยของพระราชาเกาหลี มักจะมีข้าวสองชาม ชามหนึ่งเป็นข้าวธรรมดา ส่วนอีกชามเป็นข้าวผสมข้าวหนียว แล้วหุงด้วยน้ำถั่วแดงอีกที เพราะเชื่อว่าการกินข้าวแดง จะช่วยสะเดาะเคราะห์ให้พ้นภัย สมัยก่อนพระราชาเกาหลีจะเสวยวันละ 5 มื้อ มื้อเช้าที่สุดก็ประมาณ ตี5 ตี6 เรียกว่า “มื้อรุ่งอรุณ” ส่วนมื้อเช้าประมาณสิบโมงเช้า ต่อด้วยมื้อเที่ยว มื้อเย็น และสุดท้ายคือคือมื้อดึก ส่วนใหญ่ก็เป็นผลไม้ ขนมหวานหรือเกี๊ยว

อาหารราชสำนักเป็นเรื่องราวความพิถีพิถัน ในการปรุงแต่งให้สวยงาม และเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง โดยอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารราชสำนัก คือ ซอล โล และกูล ชอน พัน ที่มีวิธีการเสิร์ฟตามแบบประเพณีนิยม สิ่งสำคัญขอบอาหารราชสำนัก คือ พ่อครัวที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะต้องรู้จักคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารที่ดีที่สุดจากทั่วทุกมุมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เนื้อ หรืออาหารทะเล อาหารราชสำนักกับอาหารทั่วไปของเกาหลีนั้นมีความแตกต่างกันที่ อาหารราชสำนักจะไม่เน้นความจัดจ้านของรสชาติและเผ็ดเท่าอาหารทั่วไป



ชนิดของอาหารเกาหลีตามประเพณีนิยม

1. บับ (Bap) ข้าวนึ่ง และจุค (Juk) ข้าวต้ม
ข้าวต้มเป็นอาหารหลักของครัวเกาหลี ส่วนใหญ่ใช้ข้าวเหนียว บางครั้งเป็นพวกถั่ว เกาหลัด ข้าวฟ่าง ถั่วแดง ข้าวบาเลย์ หรือ ธัญญพืชชนิดต่างๆประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวต้มถือว่าเป็นอาหารบำรุงและเป็นอาหารเบา มีข้าวต้มหลากหลายชนิด อาทิเช่น ชนิดที่ทำด้วยข้าวและมีส่วนผสม ด้วยถั่วแดง ฟักทอง หอยเป๋าฮื้อ โสม ลูกสน ผัก เนื้อไก่ เห็ด และถั่วงอก




2. กุก (Guk) ซุป
ซุปเป็นอาหารจานสำคัญเมื่อมีข้าวมาเสิร์ฟ เครื่องปรุงของซุปชนิดต่างๆมีผัก เนื้อสัตว์ ปลา หอยเชลล์ สาหร่ายทะเล และกระดูกวัว

3. จิเก (Jjigae) สตูว์
ชิแจคล้ายกับกุกแต่ข้นกว่าและแห้งกว่า ชิแจที่เป็นที่นิยมมากที่สุดทำจากเต้าเจี้ยว ชิแจมักจะเผ็ดร้อนเสิร์ฟขณะร้อนจัดในชามหินร้อน

4. จิม และ ชอริม (Jjim and Jorim) เนื้อหรือปลาตุ๋น
จิมและชอริมเป็นอาหารคล้ายกันทำด้วยผักชุปซอสถั่วเหลืองแล้วนำมาเป็นส่วนผสมต้มในไฟอ่อน



5. นามุล (Namul) พืชและผักใบเขียว
นามุลทำด้วยพืชหรือผักใบเขียวนำมาต้มเพียงเล็กน้อยหรือทอดผสมกับเกลือ ซอสถั่วเหลือง งาเค็ม น้ำมันงา กระเทียม หัวหอม และเครื่องเทศ

6. จอทกอล (jeotgal) อาหารทะเลหมักเกลือ
จอทกอลเป็นอาหารรสเค็มจัดทำจากปลาหมักโดยวิธีธรรมชาติ หอยเชลล์ กุ้ง หอยนางรม ไข่ปลา พุงปลา และเครื่องปรุงอื่นๆ



7. กุย (Gui) ประเภทปิ้งย่าง
การทำกุยคือการนำเนื้อหมักย่างบนเตาถ่าน อาหารเนื้อชนิดนี้ที่เป็นที่นิยมคือ พุลโกกิ (bulgogi) และ คาลบิ (galbi) ยังมีอาหารจานปลาอีกหลายอย่างที่ปรุงด้วยวิธีนี้

8. เชิน (jeon) จานกระทะร้อน
เชินเป็นแพนเค้กชนิดหนึ่งที่ทำจากเห็ด ฟักทอง ปลาแห้งแผ่น หอยนางรม พริกเขียว เนื้อสัตว์ หรือเครื่องปรุงอื่นๆ ผสมกับเกลือและพริกไทยดำก่อนนำไปชุปแป้งและไข่แล้วทอด

9. มันดู (Mandu) ประเภทยัดไส้
มันดูทำด้วยแป้งแผ่นยัดไส้เนื้อ เห็ด แตงทอด ถั่วงอก บางครั้งใช้เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือปลา แทนเนื้อ




No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.